หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและใช้ให้เกิดประโยชน์ หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้
1. การถนอมรักษา คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพเอาไว้ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. การบูรณะฟื้นฟู คือ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม
3. การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นการอนุรักษ์อีกวิธีหนึ่ง เช่น การนำเศษกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง และเหล็กที่ทิ้งแล้วกลับมาหลอมหรือเปลี่ยนสภาพ ให้นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นต้น
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดจะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น น้ำที่ไหลลงมาตามลำน้ำ ถ้าหากสร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำเพื่อยกระดับของน้ำให้เขื่อนสูงขึ้น แล้วนำพลังงานน้ำนั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกวิธีหนึ่ง
5. การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางชนิดอาจทำได้ เช่น การนำก๊าซธรรมชาติ มาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
6.การสำรวจแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติม เป็นการค้นหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถผลิตของเทียมขึ้นใช้แทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ยางเทียม ไหมเทียม เป็นต้น
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน คือ
1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะเมื่อภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะทำให้สัตว์ทางทะเลตาย เพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง และในหลายพื้นที่ประสบกับปัญหาความแห้งแล้ง ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่างๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบ จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังถูกทำลาย สิ่งมีชีวิตในทะเลก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็จะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
3. ผลกระทบด้านสุขภาพ
โลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษเพิ่มมาก
ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) การตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
เราสามารถช่วยลดโลกร้อน ด้วยวิธีง่าย ดังนี้
1. ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก
2. เปลี่ยนมาใช้ของมือสอง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอ
3. เดินหรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์
4. เลือกใช้ เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อน้อยๆ เพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในโลก
5. ลดปริมาณขยะในบ้าน ใช้ประโยชน์จากสิ่งของต่างๆ ในบ้านให้คุ้มค่า
6. แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะให้เป็นสัดส่วน
7. ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะๆ ไปปลูกป่าไม่ได้ ก็ปลูกในกระถางก็ได้ ต้นไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นปอดให้กับระบบนิเวศวิทยา ปลูกต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุของมัน
8. หยุดใช้สินค้าที่มีสาร CFC ตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนโลก หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่ก่อให้เกิดความเย็น
9. หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทำจากธรรมชาติ
การผังเมือง หมายความว่า การวาง จัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมและ ผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคต และการกำหนดแนวทางดังกล่าวยังต้องคำนึงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัย สวัสดิภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่ที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย
การวางผังเมืองมีประโยชน์
1. ทำให้เมืองหรือชุมชนมีความสวยงามเจริญเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกสุขลักษณะ
2. เพื่อวางแนวทางการพัฒนาเมืองหรือชุมชนให้มีระเบียบ โดยวางผังโครงการคมนาคมและขนส่งให้สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต
3. ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองหรือชุมชน
5. ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเมืองหรือชุมชนให้มีที่โล่งเว้นว่าง มีสวนสาธารณะ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ
6. ดำรงรักษาสถานที่ที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และโบราณคดี
7. บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิประเทศที่งดงามทั้งในเขตเมืองและชนบท
พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหมายถึงพื้นที่ใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไปหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับความกระทบกระเทือนจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือสมบัติอันควรแก่การอนุรักษ์
ระเบียบและกฎหมายที่ควบคุมกากกัมมันตรังสี โดยสำนักปรมาณูเพื่อสันติ ได้แก่
1.พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504
2.กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ.2546
3.กฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขและวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออกแบบใบอนุญาต พ.ศ.2546
4.กฎกระทรวงพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2550